วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดตาก

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดตาก

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

                สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บุรพกษัตริย์ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป แต่ที่ตั้งศาลเดิมทรุดโทรมไม่สมกับพระเกียรติ ประชาชนร่วมกับกรมศิลปากรจึงร่วมกันบูรณะและย้ายที่ตั้งศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมายังสถานที่ใหม่ในปัจจุบัน  ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศาลาแบบจัตุรมุข มีรูปหล่อพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อยในพระอิริยาบถประทับบนราชอาสน์ มีพระแสงดาบพาดอยู่บนพระเพลา หล่อขึ้นโดยกรมศิลปากร ด้านหน้าและด้านข้างของศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีรูปปั้นม้าศึกประดับไว้ รวมทั้งมีบริเวณให้สักการบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  อีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ของศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคือ สวนสิบสองนักษัตร ภายในมีรูปหล่อสีทองของนักษัตรทั้งสิบสองราศีประดับตลอดระยะเส้นทางเดินภายในสวนที่จัดไว้อย่างร่มรื่นให้พักผ่อนคลายร้อน และสามารถร่วมทำบุญกับเหล่าสิบสองนักษัตรได้โดยการหยอดเหรียญไปที่รูปปั้นของนักษัตรทั้งสิบสอง




เขื่อนภูพล
                เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งและเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย เดิมชื่อเขื่อนยันฮี ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฏาคม ๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน พระปรมาภิไธย ให้เป็นชื่อเขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล ลักษณะของเขื่อน เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย  และ เอเชียอาคเนย์ และเป็นอันดับ ๘ ของโลกสร้างปิดกั้น ลำน้ำปิง ที่ บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด ๑๓,๔๖๒ ล้านลูกบาศก์เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๐๔ การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วยงานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้าซึ่งได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๑-๒ กำลังผลิตเครื่องละ ๗๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม และ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๗ ตามลำดับ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗ ต่อมาได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๓-๖ กำลังผลิตเครื่องละ ๗๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ และเครื่องที่ ๗ กำลังผลิต ๑๑๕,๐๐๐ กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ใน วันที่ ๑๑ พฤษภาคม วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๑๐ วันที่ ๒๕ ตุลาคม วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๒ และวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๕ ตามลำดับ เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกไปในปี พ.ศ.๒๕๓๑ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงได้ทำการปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๑-๒ ทำให้มีพลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกเครื่องละ ๖,๓๐๐ กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้  เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๕ และ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ตามลำดับส่วนการปรับปรุงเครื่องเครื่องที่ ๓-๔ มีการปรับปรุงกำลัง ผลิตเท่ากันกับเครื่อง ที่ ๑-๒ แล้วเสร็จสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และสิงหาคม ๒๕๔๐ ตามลำดับ  นอกจากนี้ ในปี ๒๕๓๔ กฟผ.ได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๘ แบบสูบกลับ ขนาดกำลังผลิต ๑๗๑,๐๐๐ กิโลวัตต์ และก่อสร้างเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือน มกราคม ๒๕๓๙ ทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนภูมิพลมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งสิ้น ๗๗๙.๒ เมกกะวัตต์ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ สามารถ และให้ประโยชน์ในด้านชลประทานแก่พื้นที่ถึง ๑๐ ล้านไร่ ต่อปี อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนจุน้ำได้ ๑๓,๔๖๒ ล้านลูกบาศก์เมตร เนื้อที่ผิวน้ำประมาณ ๓๐๐ ตารางกิโลเมตร ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง ๒๐๗ กิโลเมตร




น้ำตกทีลอซู
                น้ำตกทีลอซู ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจาก ระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วย ป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชียตามความจริงต้องออกเสียงว่า "ทีลอชู" และ เป็นคำนามในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า "น้ำตก" ชื่อ "ทีลอซู" เป็นความพยายามแปลความหมายทีละคำ โดย "ที" หรือ "ทิ" แปลว่า "น้ำ" "ลอ" หรือ "ล่อ" แปลว่า "ตก" แต่ "ชู" ไม่มีความหมายใกล้เคียง ดังนั้นจึงมีความพยายาม ทำให้เป็นคำที่มีความหมาย เนื่องจาก "ซู" แปลว่า "ดำ" จึงนำไปสู่การเรียกว่า "ทีลอซู" และแปลว่า "น้ำตกดำ"


วัดพระบรมธาตุ
                ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะตะเภา ใจกลางเมืองตากเก่า เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของปีมะเมีย (แทนเจดีย์ชะเวดากอง) ซึ่งองค์เจดีย์มีลักษณะทรงสี่เหลี่ยม ต่อมาพระครูพิทักษ์บรมธาตุ (ทองอยู่) ได้บูรณะใหม่โดยสร้างครอบองค์เดิมไว้ สูงประมาณ 20 เมตร มีลักษณะทรงแปดเหลี่ยม ศิลปะล้านนา ภายนอกบุด้วยทองดอกบวบ (ทองเหลืองผสมทองแดง) มีเจดีย์องค์เล็ก 16 องค์ ซุ้มสำหรับบรรจุพระพุทธรูป 12 องค์ ซึ่งซุ้มสำหรับใส่ปั้นอ้อนช้อย สวยงามมาก วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดเก่า ได้รับ การปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง ตัวอุโบสถมีประตูเป็นไม้แกะสลักที่สวยงาม หน้าบันและจั่วเป็นไม้ หน้าต่างแกะสลักเป็นพุทธประวัติปิดทอง หัวบันได เป็นนาค วิหารของวัดเป็นวิหารเก่ามีเพดานสูง 2 ชั้นมีช่องลมอยู่โดยรอบ ทำให้อากาศภายในวิหารเย็นสบาย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองและมีวิหารอีกหลังหนึ่งซึ่งมีพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองชื่อ หลวงพ่อทันใจ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ทั้งในจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีวิหารไม้เก่าแก่ ที่มีลายแกะสลักไว้ให้ชม นับเป็นวัดที่มีคุณค่าในทางโบราณคดีมาก



                สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นสะพานที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2525 โดยองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดตาก เพื่อเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำปิงระหว่างเทศบาลเมืองตาก และตำบลป่ามะม่วง ในอดีตสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี สามารถใช้รถจักรยานและรถจักรยานยนต์สัญจร แต่ปัจจุบันเป็นสะพานสำหรับเดินชมทิวทัศน์แม่น้ำปิงและมีการประดับ ไฟสวยงามมากในยามค่ำคืน โครงสร้างของสะพานมีขนาดความกว้าง 250 เมตร ยาว 400 เมตร ฐานรากและจุดพื้นเป็นไม้โยงยึดด้วยลวดสลิงขนาดใหญ่



อุทยานแห่งชาติแม่เมย
                อุทยานแห่งชาติแม่เมย อยู่ในเขตอำเภอท่าสองยาง มีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนสหภาพพม่าโดยมีแม่น้ำเมย เป็น เส้นแบ่งเขตแดน อุทยานแห่งชาติแม่เมยขึ้นชื่อในเรื่องของความสวยงามและอลังการของทะเลหมอก มาช้านาน ไม่ว่าจะเป็น ม่อนปุยหมอก ม่อนครูบาใส  ม่อนกระทิง ม่อนกิ่วลม และม่อนพูนสุดา ซึ่งแต่ละจุดเป็น จุดชมทิวทัศน์ ของขุนเขาและทะเลหมอกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวและ นักถ่ายภาพธรรมชาติมานานบริเวณที่ทำ การอุทยานฯ มีการจัดภูมิทัศน์ และตกแต่งพื้นที่ด้วยไม้ประดับดูสวยงาม บรรยากาศโดยรอบที่ ทำการสงบร่มรื่นด้วยป่าเขา และยังมีสัตว์ป่าต่างๆ เช่น กวาง ละมั่ง เป็นต้น นอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัด เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ใช้เวลาเดินประมาณ 6 ชั่วโมง ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทางโดยติดต่อล่วงหน้าที่อุทยานฯ เป็น เส้นทางเดินแบบไปเช้า- เย็น กลับ หรือจะพักแรมก็ได้ ระหว่างเส้นทางที่เดินเป็นทางขึ้นเขาบ้าง ลงเขาบ้าง ทางเดินไม่ชันมาก เดินเรียบลำน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ผ่านน้ำตกเล็กๆ บางครั้งต้องปีนบันไดไม้ไผ่ที่สร้างขึ้นขนานไปกับ น้ำตก ละอองน้ำจากน้ำตกจะกระเด็นเข้ามาปะทะที่ใบหน้าทำให้สดชื่นขึ้น หากมาในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะพบ ดอกไม้ป่านานาชนิดหลากสีสันบานอยู่ริมทางเดินหรือริมน้ำตก เช่น ดอกกระทือสีแดง ดอกบัวตองสีเหลืองบาน เป็นกอชวนสะดุดตาตัดกับผืนป่าสีเขียว บางดอกซ่อนตัวอยู่กับพรมมอสสีเขียวเข้ม

ที่มา :http://www.unseentravel.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น